สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไป
9 มิถุนายน 2565

0


ขนาดและที่ตั้ง                

  ตำบลคึกคัก  เป็นตำบลหนึ่งในจำนวน  6  ตำบลของอำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดพังงา ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน    

-  อยู่ห่างจากจังหวัดพังงาตามทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ระยะทาง   ประมาณ  84 กิโลเมตร  

-  อยู่ห่างจากอำเภอตะกั่วป่า  ระยะทางประมาณ  24 กิโลเมตร 

        สำนักงานเทศบาลตำบลคึกคัก  ตั้งอยู่เลขที่  22  หมู่ที่  4  ถนนบางตาเทียน  ซอยบางหมาก  ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา   มีเนื้อที่ประมาณ  25 ไร่

เนื้อที่  

  ตำบลคึกคัก  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  92,009  ไร่ หรือ  147.21  ตารางกิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ   ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลบางม่วง  อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลลำแก่น  อำเภอท้ายเหมือง  จังหวัดพังงา

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางไทร   อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน
ลักษณะภูมิประเทศ   

   สภาพภูมิประเทศของตำบลคึกคัก เป็นภูเขาสลับซับซ้อนทอดเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปยังทิศใต้    มีพื้นที่ป่าไม้เป็นประเภทไม้ผลัดใบ ชนิดป่าไม้ที่สำคัญ  ได้แก่  ป่าเขาดิบ  ป่าเขาชื้น  บริเวณที่เป็นที่ราบจะลาดลงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกลงสู่ทะเลอันดามัน

ลักษณะภูมิอากาศ

   ภูมิอากาศของตำบลคึกคัก  ตำบลคึกคักตั้งอยู่ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก  ซึ่งจะมีภูมิอากาศแตกต่างจากภาคอื่นของประเทศ โดยมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน  โดยได้รับอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ซึ่งจากอิทธิพลของทิศทางลมและปริมาณน้ำฝน  ทำให้สามารถแบ่งฤดูกาลในจังหวัดพังงา  ออกเป็น 2 ฤดู  คือ 

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนเมษายน  เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ฝั่งตะวันออก  ทำให้เป็นช่วงที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นและมีปริมาณ น้ำฝนลดอย่างเห็นได้ชัด 

ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายนโดยในช่วงนี้ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้  จะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ภาคใต้  เนื่องจากเป็นลมที่พัดผ่านทะเลมาตลอดเป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง  ทำให้ฝนตกชุก

จำนวนประชากร /หมู่บ้าน

ตารางแสดงจำนวนประชากร จำนวนบ้าน  แยกรายหมู่บ้าน (ปีพ.ศ. 2565)

 

หมู่บ้าน

ปี  พ.ศ. 2565

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

(คน)

ครัวเรือน

(หลัง)

หมู่ที่  1   บ้านปากวีป

431

391

822

536

หมู่ที่  2   บ้านบางขยะ

425

416

841

825

หมู่ที่  3   บ้านคึกคัก

657

652

1,309

1,113

หมู่ที่  4   บ้านคึกคัก

843

778

1,611

971

หมู่ที่  5   บ้านบางเนียง

518

518

1,036

1,537

หมู่ที่  6   บ้านบางเนียง

230

249

479

682

หมู่ที่  7   บ้านบางหลาโอน

207

221

428

822

รวม

3,311

3,225

6,526

6,486

 

ที่มา ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอตะกั่วป่า กรมการปกครอง ณ เดือนมีนาคม 2565

เขตการปกครอง

ตำบลคึกคัก  อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา  แบ่งการปกครองออกเป็น  7  หมู่บ้าน  มีจำนวนหมู่บ้านอยู่ในเขตเทศบาลตำบลคึกคักเต็มทั้ง  7  หมู่บ้าน  ดังนี้

 

หมู่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้าน

หมายเลขโทรศัพท์

หมู่ที่  1  บ้านปากวีป

นายสุชาติ

ไกรเลิศ

083-6331592

หมู่ที่  2  บ้านบางขยะ

นายจำรัส

กำนันตำบลคึกคัก

หลีเจี้ย

089-7299950

หมู่ที่  3  บ้านคึกคัก

นายสีทอง

สงวนนาม

081-8916572

หมู่ที่  4  บ้านคึกคัก

นายพรเทพ

ทองลิ้ม

086-7436717

หมู่ที่  5  บ้านบางเนียง

นายอำพล

จุลเทพ

082-8034669

หมู่ที่  6  บ้านบางเนียง 

นายทรงศรี

นพฤทธิ์

089-9089601

หมู่ที่  7  บ้านบางหลาโอน

นางสาวจิตติมา

คงพันธ์

081-0864181


 

สภาพทางสังคม
1 กุมภาพันธ์ 2562

0


ศาสนา

           ประชาชนในตำบลคึกคักส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 92.55 นอกจากนี้ศาสนาอื่น เช่น คริสต์ อิสลาม 
                  มีวัด จำนวน  2   แห่ง  และสำนักสงฆ์  จำนวน  2   แห่ง และโบสถ์   จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ คือ
                  1) วัดคมนียเขต                             ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก
                  2) วัดพนัสนิคม                              ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านบางเนียง
                  3) สำนักสงฆ์บ้านปากวีป                  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านปากวีป
                  4) สำนักสงฆ์ป่าโพธิวาส                  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านบางเนียง
                  5) โบสถ์คริสตจักรพักพิง                  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4   บ้านคึกคัก
 
  ประเพณี/วัฒนธรรม
 
            ตำบลคึกคักมีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ   ถึงปัจจุบันคือ
                  *  ประเพณีลอยเรือแพ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันในหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลคึกคักไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด จัดขึ้นในวันที่1มกราคม ซึ่งเป็นวันปีใหม่ของทุกปีเป็น วันลอยเรือ โดยมีความเชื่อว่าการลอยเรือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้ทุกข์โศก โรคภัย สิ่งไม่ดี เคราะห์ร้ายต่างๆในชีวิตหลุดพ้นไป มีการตัดเล็บ ตัดผม เศษ เสื้อผ้า ใส่ลงเรือลอยไปในทะเล โดยเรือจะทำจากไม้ไผ่ ทำ เป็นโครงหรือใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและลอยน้ำได้ จากนั้นใช้กระดาษที่มีสีสันต่างๆ ตกแต่งตัวเรือให้สวยงาม เรือมักมีขนาดยาว ประมาณ 4 – 5 เมตร มีทุ่นทำด้วยโฟมหรือไม้ไผ่ป้องกันไม่ให้เรือจม ซึ่งในประเพณีลอยเรือจะมีการประแอบพิธีสงฆ์ด้วย และในปัจจุบันในพื้นที่ตำบล คึกคักยังคงมีชาวไทยและชาวไทยใหม่ (ชาวเล) สืบสานประเพณีนี้ โดยจัดขึ้นในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
 
                  *   ประเพณีกินเจ    หรือ ที่ภาษาถิ่นเรียกว่า “ กินผัก ” ภาษาจีนเรียกว่า “ เจี๊ยะฉ่าย ” ถือเป็นประเพณีหนึ่งของชาวจีนที่ตกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนตำบล คึกคัก มีวัตถุประสงค์เพื่อชำระร่างกายและจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม นุ่งขาว ห่มขาว ไม่กินเนื้อสัตว์และของคาว   จะจัดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี 9 วัน 9 คืน   ในงานพิธีจะมีการอัญเชิญเทพเจ้าต่างๆมาเข้าทรงในร่างทรง ก่อนเริ่มพิธีหนึ่ง วัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า ภาษาถิ่นเรียกว่า “อ้าม” และบ้านเรือน หน้าศาลเจ้าจะทำพิธียกเสาโกเต้ง เป็นเสาไม้สูงแขวนโคม ไฟ 9 ดวง หมายถึงเทพเจ้านพเคราะห์ 9 องค์ ใช้น้ำมันมะพร้าว/น้ำมันพืชเป็น เชื้อเพลิงตลอด 9 วัน ซึ่งปัจจุบันตำบลคึกคักมีศาลเจ้าในพื้นที่ ตำบล 1 แห่ง คือศาลเจ้าปุ้นเถ้าก๋ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 บ้านใน บ้าน ตำบลคึกคัก
 
                 *  ประเพณีวันสารทเดือนสิบ ตรง กับวันแรม  15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี  จะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ บุพการี ญาติมิตร ผีเปรตตลอดจน เจ้ากรรมนายเวรที่ล่วงลับไปแล้ว มีความเชื่อกันว่าผู้ที่ล่วงลับจะมีโอกาส กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านจะไปทำบุญที่วัด ใกล้บ้านหรือที่วัดที่ฝังหรือเผาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีการจัด เตรียมดอกไม้ธูปเทียนของทำบุญเลี้ยงพระทั้งอาหารคาวหวานขนมต่างๆเช่นขนมเทียนขนมต้มขนมท่อนใต้ ขนมดอกไม้ ขนมลา ขนมห่อ ฯลฯ ซึ่งขนมเหล่านี้ล้วนมี ความหมายต่อการทำบุญวันสารททั้งสิ้น จะมีพิธีทางศาสนา คือ การสวดมนต์ไหว้ พระ ฟังพระธรรมเทศนา ถวายสังฆทาน และนำอาหารใส่กระทง หลังกรวดน้ำบังสุกล เสร็จชาวไทยใหม่ (ชาวเล) จะเข้ามาแย่งชิงอาหารที่ตั้งไว้ที่ร้านเปรต เรียกว่า “การชิง เปรต” อาคารคาวหวานที่ชิงได้ชาวไทยใหม่ (ชาวเล) จะนำไปตั้งเซ่นไหว้พ่อตา (ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว) ก่อนที่จะนำไปบริโภค
 
                  *  ประเพณีขอส่วนบุญ (เดือนสิบ)   ใน ช่วงเดือนสิบ หรือประมาณเดือน   ของทุกปี ชาวไทยใหม่ (ชาวเล) จะไปรับบริจาคข้าวปลาอาหารจากวัดต่างๆ หรือเรียกอีกอย่างว่า “ ชิงเปรต ” เพื่อจะได้นำมาเซ่นไหว้บูชาพ่อตา (ตาสาย) ให้คุมครองรักษาอย่าได้มีโรคภัยไข้เจ็บในบ้าน อาหารต่างๆ ที่ได้มา แล้วชาวเลจะนำมาตั้งไว้บูชาตายายก่อนที่จะนำไปบริโภค หากฝ่าฝืนเชื่อว่าจะ ถูกตายายทำโทษ
 
                  *  ประเพณีหาบคอน  จะ กระทำในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะเดาะ เคราะห์ ล้างบาปไปจากตัวหรือครัวเรือน โดยชาวไทยใหม่ (ชาวเล) จะนำของแห้งรวมใส่ไว้ในถุง นอกจากนั้นยังมีการตัดผม ตัดเล็บ ตัดเสื้อ ผ้า ใส่รวมไปด้วย นำมาผูกกับคอนห้อยลงมา แล้วหาบไปไว้ที่ชายหาด เชื่อว่าได้ นำทุกข์โศกโรคภัย เคราะห์ร้ายฝากทิ้งไปกับน้ำไห้พ้นจากตัวและครอบครัว
 
                  *  ประเพณีไหว้พ่อตา  จะ กระทำในช่วงเดือน 4 เป็นการบูชาพ่อตา (ตายาย) หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้ม ครองปกปักรักษา เพื่อเป็นสิริมงคล ให้นำพาซึ่งความสุข ความเจริญให้แก่ครอบ ครัว หรือเป็นการแก้บน โดยมีการทำพิธี 2 ช่วง ช่วงแรกจะไหว้พ่อตาในป่า โดย ใช้บริเวณร่มไม้ในการทำพิธี ทำร้านตั้งของเซ่นไหว้บูชา ประกอบด้วย ไก้ปิ้ง (ไก่บ้าน) 1 ตัว , เต่า 1 ตัว , ข้าวหลาม , บอนหยวก (บอนดำ)เหนียว , น้ำกะทิ , เลือดไก่ ชาวไทยใหม่ (ชาวเล)  ประมาณ 3 ครัวเรือน จะรวมตัวกันทำพิธีไหว้พ่อตา โดยมีหมอทำพิธี 1 คน (ของเซ่นไหว้แต่ละครัวเรือนจะจัดเตรียมมาเอง) และจะใช้ เวลาในการสวดคาถาต่อครัวเรือนประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เสร็จจากพิธีกลาง วัน ประมาณเวลา 2 – 3 ทุ่ม เป็นพิธีไหว้พ่อตาในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องเตรียมของบูชาใส่ถาด อัน ประกอบด้วย ไก่ 2 ตัว , ข้าวเหนียว , หมากพลู , ข้าวจ้าว , ขนามขี้กวาง จัดเตรียมใส่ถ้วยไว้สำหรับพ่อตา 1 สำรับ และสำหรับบริวาร 1    สำรับ (สำหรับบริวารจัดใส่กระทง โดยใช้ใบพ้อทำเป็นกระทง) หมอที่มาทำพิธีจะ ใช้เวลาในการว่าคาถาตามครัวเรือนที่ทำพิธีไว้ในช่วงกลางวัน ครัวเรือนละ ครึ่งชั่วโมง ก็เป็นอันเสร็จพิธี     
 
 การศึกษา

              ตำบลคึกคักมี โรงเรียนประถมศึกษาตั้งให้บริการแก่ประชาชนในตำบลจำนวน 3 แห่ง สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 1แห่ง  และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ดังนี้ คือ
            >  โรงเรียนบ้านปากวีปมิตรภาพที่ 124  ให้การบริการด้านการศึกษาระดับประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา กระทรวงศึกษาธิการ   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 บ้านปากวีป         
 ข้อมูลด้านการศึกษาของโรงเรียน
1) ครู/อาจารย์ ระดับผู้บริหาร            จำนวน   1   คน
2) ครู/อาจารย์ ระดับผู้สอน              จำนวน    7   คน
3) ครูอัตราจ้าง                             จำนวน    2   คน
4) จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น


            >  โรงเรียนวัดคมนียเขต ให้ การบริการด้านการศึกษาระดับประถมศึกษา – มัธยมขยายโอกาส  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา กระทรวงศึกษาธิการ  ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก        
ข้อมูลด้านการศึกษาของโรงเรียน
1) ครู/อาจารย์ ระดับผู้บริหาร                  จำนวน    1    คน       
2) ครู/อาจารย์ ระดับผู้สอน                     จำนวน   16   คน
3) ครูอัตราจ้าง                                    จำนวน    8    คน 
4) จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น

            > โรงเรียนบ้านบางเนียง ให้การบริการด้านการศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านบางเนียง        
ข้อมูลด้านการศึกษาของโรงเรียน
1) ครู/อาจารย์ ระดับผู้บริหาร                 จำนวน   1    คน
2) ครู/อาจารย์ ระดับผู้สอน                    จำนวน    4   คน
3) ครูอัตราจ้าง                                   จำนวน    2   คน
4) จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น

            >  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คึกคัก ให้การบริการด้านการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก   ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก        
ข้อมูลด้านการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1) นักวิชาการศึกษา                               จำนวน   1   คน
2) ครูผู้ดูแลเด็ก                                     จำนวน    4   คน
3) พี่เลี้ยง                                             จำนวน    2   คน
4) จำนวนนักเรียน     65    คน     โดยแยกเป็น
             >   ชาย      29        คน
             >   หญิง     36         คน
 
 
             >    ศูนย์คริสเตียน มอนเทสซอรี่ พรีสกูล (สถานศึกษาปฐมวัย) ให้บริการด้านการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ( 2 – 5 ขวบ) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก 
 ข้อมูลด้านการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1) ครูผู้ดูแลเด็ก                                     จำนวน    4   คน
2) ครูพี่เลี้ยง                                          จำนวน    3   คน
3) จำนวนนักเรียน    46     คน    
4) ค่าใช้จ่ายในศูนย์ฯ มาจากเงินบริจาค
 
 
การสาธารณสุข
 
          ในเขตตำบลคึกคัก มีสถานบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้ คือ
1) สถานีอนามัยตำบลคึกคัก ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก มีเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย จำนวน 6 คน ดังนี้
     - นักบริหารงานสาธารณสุข               จำนวน   1   คน
     - เจ้าพนักงานสาธารณสุข                 จำนวน   1   คน
     - พยาบาลวิชาชีพ                           จำนวน   3   คน
     - นักวิชาการสาธารณสุข                   จำนวน   1   คน
ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก และบริการงานส่งเสริมสุขภาพ แก่ประชาชน และมีอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลคึกคักทั้งสิ้น 161 คน
           2)  คลีนิคแพทย์                                      จำนวน  2  แห่ง
           3)   ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                     จำนวน    3   แห่ง
 
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 
          1. ที่พักสายตรวจประจำตำบล   จำนวน  1 แห่ง   
                  -  ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านคึกคัก มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาประจำอยู่ครั้งละ   4 นาย โดยให้บริการแก่ประชาชนในด้านการระงับเหตุ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้อง ต้น และรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว
          2. ศูนย์บริการและรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว   จำนวน  1   แห่ง    
                 - ตั้งอยู่ในหมู่ที่   7 บ้านบางหลาโอน           
          3. สถานีอุตุนิยมวิทยา   จำนวน   1   แห่ง
    -   ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3  มีเจ้าหน้าที่ประจำ 4 อัตรา โดยให้บริการรายงานข่าวพยากรณ์
อากาศ คำเตือน แก่สถานีวิทยุและให้บริการข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาแก่หน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้สนใจทั่วไป 

สภาพทางเศรษฐกิจ
1 กุมภาพันธ์ 2562

0


การประกอบอาชีพ


ด้านเกษตรกรรม

                พื้นที่เกษตรกรรม รวม  33,911   ไร่  ส่วนใหญ่ประชาชนจะประกอบอาชีพทำสวนยางพารา  สวนปาล์ม   สวนผลไม้ต่าง ๆ  เช่น ทุเรียน  มังคุด ลองกอง เงาะ มะพร้าว จำปาดะ เป็นต้น   และเลี้ยงสัตว์

ด้านอุตสาหกรรม  พาณิชย์ และหน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลคึกคัก
 

1. ร้านค้าทั่วไป ประมาณ 100    แห่ง
2. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ / ปั๊มหลอด 1/5     แห่ง
3.  โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล 52    แห่ง
4.  ธนาคาร / สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา 4/5    แห่ง
5. ตลาด 3 แห่ง    ดังนี้

                
ธนาคาร
               1)  บมจ.กรุงศรีอยุธยาจำกัด สาขาย่อยเขาหลักพังงา 
                - ตั้งอยู่ที่ 99 – 100 หมู่ 6 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา
               2)  ธนาคารทหารไทย                   
                 - ตั้งอยู่หมู่ที่    6    บ้านบางเนียง
               3)  บมจ.ธนาคารนครหลวงไทย                           
                 -  ตั้งอยู่หมู่ที่    7    บ้านบางหลาโอน
               4)  ธนาคารไทยพาณิชย์        
                - ตั้งอยู่หมู่ที่   7    บ้านบางหลาโอน
                สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา 
                1. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ   ธนาคารทหารไทย  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านบางเนียง
                2. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6  บ้านบางเนียง 1 แห่ง และหมู่   7 บ้านบางหลาโอน 1 แห่ง 
                3. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารนครหลวงไทย  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน
                4. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน

ด้านอุตสาหกรรม พาณิชย์ และหน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลคึกคัก

               1. ร้านค้าทั่วไป ประมาณ                      100    แห่ง
               2. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ / ปั๊มหลอด             1/5     แห่ง
               3.  โรงแรม รีสอร์ท บังกะโล                   52    แห่ง
               4.  ธนาคาร / สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา   4/5    แห่ง   ดังนี้
                 ธนาคาร
               1)  บมจ.กรุงศรีอยุธยาจำกัด สาขาย่อยเขาหลักพังงา 
               - ตั้งอยู่ที่ 99 – 100 หมู่ 6 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า  จังหวัดพังงา
               2)  ธนาคารทหารไทย                   
                 - ตั้งอยู่หมู่ที่    6    บ้านบางเนียง
               3)  บมจ.ธนาคารนครหลวงไทย                           
                 -  ตั้งอยู่หมู่ที่    7    บ้านบางหลาโอน
               4)  ธนาคารไทยพาณิชย์        
                - ตั้งอยู่หมู่ที่   7    บ้านบางหลาโอน
            
สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา 

                1. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารทหารไทย  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านบางเนียง
                2. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6  บ้านบางเนียง 1 แห่ง และหมู่   7 บ้านบางหลาโอน 1 แห่ง 
                3. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารนครหลวงไทย  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน
                4. สถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์  
                        ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน

ตลาด ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคึกคัก

1. ไม่มีตลาดในสังกัดเทศบาลตำบลคึกคัก
2. ตลาดเอกชน จำนวน 2 แห่ง
1) ตลาดเขาหลัก - บางเนียง  ตลาดประเภท ที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 65/40 หมู่ 3
2) ตลาดนัดบางเนียง (ช่องฟ้า)  ตลาดประเภท ที่ 2 ตั้งอยู่โฉนดที่ดิน เลขที่ 14480 เลขที่ดิน 112,  น.ส. 3 ก. เลขที่ 1215 เลขที่ดิน 68
ด้านการบริการพื้นฐาน
1 กุมภาพันธ์ 2562

0



      การคมนาคม/ขนส่ง

             การเดินทางของตำบลคึกคัก เป็นการคมนาคมทางบกมีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง  และเป็นถนนสายหลักที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านด้วย โดยมีถนนซอยแยกจากถนน สายหลักเข้าหมู่บ้านได้อย่างสะดวกซึ่งมีทั้งถนนคอนกรีตเสริมเเหล็ก ถนนลาด ยางและถนนลูกรัง
            การบริการรถโดยสารประจำทาง ในพื้นที่ตำบลคึกคักมีรถโดยสารประจำทางที่วิ่ง ผ่านตำบลคึกคัก และจอดรับส่งผู้โดยสารตลอดทางทั้งวัน จำนวนหลายสาย ทาง ได้แก่  รถประจำทางที่วิ่งไปยังอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดภูเก็ต  ชุมพร  กระบี่   สุราษฎร์ธานี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

      การไฟฟ้า
                  ตำบล คึกคัก มีไฟฟ้าเข้าถึงให้บริการภายในตำบลทุกหมู่บ้าน ทั้งตำบลมีไฟฟ้าใช้ ประมาณร้อยละ 97 อีกประมาณร้อยละ 3 เป็นบ้านที่ยังไม่มีไฟเนื่องจากเป็นบ้านที่สร้างใหม่ และอยู่ห่างไกล ชุมชน 
  
      ประปา
                  ตำบลคึกคักมีระบบประปาอยู่  ดังนี้

   >     ระบบประปาบ่อบาดาล (หอถัง) หมู่ที่ 1 บ้านปากวีป
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 (ซอยปากวีป – ดอกแดง) 
-         จำนวนผู้ใช้ 20 หลังคาเรือน  
-         องค์การบริหารส่วนตำบลคึกคักก่อสร้างและมอบให้หมู่บ้านเป็นผู้ดูแล
     >    ระบบประปาบ่อบาดาล หมู่ที่ 2 บ้านบางขยะ
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 
-         จำนวนผู้ใช้น้ำ  25 หลังคาเรือน
-         อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
     >     ระบบประปาบ่อบาดาล หมู่ที่ 2 บ้านพักถาวรบางขยะ
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2  บริเวณบ้านพักถาวร
-         จำนวนผู้ใช้น้ำ  164 หลังคาเรือน
-         อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
     >     ระบบประปาผิวดิน หมู่ที่  4 บ้านคึกคัก
-     ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่  หมู่ที่ 3  และหมู่ที่ 4 
-     จำนวนผู้ใช้น้ำ  334   หลังคาเรือน
-         อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
-         กำลังการผลิต  30   ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง
-         อัตราการจ่ายน้ำ  700   ลูกบาศก์เมตร/วัน
     >    ระบบประปาผิวดิน หมู่ที่ 5   บ้านบางเนียง
-     ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่  หมู่ที่  3 , หมู่ที่ 5
-     จำนวนผู้ใช้น้ำ  413   หลังคาเรือน
-         อยู่ในการความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
-         กำลังการผลิต  50    ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (2 เครื่อง)
-         อัตราการจ่ายน้ำ   1,107 ลูกบาศก์เมตร/วัน
     >      ระบบประปาผิวดิน หมู่ที่ 6 บ้านบางเนียง
-      ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่   หมู่ที่ 6
-     จำนวนผู้ใช้น้ำ   171    หลังคาเรือน
-         อยู่ในการความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
-         กำลังการผลิต    10    ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (2 เครื่อง)
-         อัตราการจ่ายน้ำ   20 ลูกบาศก์เมตร/วัน
      >       ระบบประปาบ่อบาดาล (หอถัง) หมู่ 6 บ้านบางเนียง
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่  หมู่ที่  6  
-         จำนวนผู้ใช้น้ำ   30   หลังคาเรือน
-         อยู่ในการความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
      >       ระบบประปาบ่อบาดาล (หอถัง) หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 
-         จำนวนผู้ใช้น้ำ   30   หลังคาเรือน
-         อยู่ในการความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก
     >      ระบบประปาผิวดิน หมู่ที่ 7 บ้านบางหลาโอน
-         ควบคุมการจ่ายน้ำในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 
-         จำนวนผู้ใช้น้ำ   30   หลังคาเรือน
-         อยู่ในการความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลคึกคัก

 


นอกจากนี้ยังมีระบบประปาให้ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ แต่อยู่ในความดูแลของหมู่บ้านหรือกลุ่มใช้น้ำต่างๆ ดังนี้

               1.   ระบบประปาบ่อบาดาล    หมู่   4   ซอยทุ่งขมิ้น
                      -    จำนวนผู้ใช้น้ำ   60   หลังคาเรือน
               2.   ระบบประปาบ่อบาดาล หมู่ 4 บ้านถาวรธนารักษ์บ้านถาวรบางขยะ
                      -    จำนวนผู้ใช้น้ำ   46   หลังคาเรือน
               3.   ระบบประปาบ่อบาดาล    หมู่ 5 ซอยน้ำตกโตนช่องฟ้า
                     -     จำนวนผู้ใช้น้ำ   40   หลังคาเรือน
 
        การไปรษณีย์
                 ตำบลคึกคักเดิมมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขย่อย (เอกชนรับจ้าง) จำนวน 1  แห่ง  ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบางม่วง ในปี พ.ศ.2550  ได้ปิดทำการไป แต่ในปัจจุบันได้เปิดทำการอีกครั้ง
        
       โทรศัพท์
                ตำบลคึกคักมีสำนักงานบริการลูกค้า กสท.ตะกั่วป่า บริษัท กสท.โทรคมนาคมจำกัด(มหาชน) สังกัดกระทรวง ICT เป็นรัฐวิสาหกิจ  
        >     ที่ตั้งเลขที่   56/106 - 107  หมู่ 5  ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
        >    เปิดให้บริการ

-    โทรศัพท์ระหว่างประเทศ
-    อินเตอร์เน็ต
-    โทรศัพท์ไร้สายในประเทศ
       >   หมายเลขโทรศัพท์     079-443501-4  กด 4380

          ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ตำบลคึกคักมีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่สำคัญต่อการเกษตรกรรม  ทรัพยากรน้ำ
 -แหล่งน้ำผิวดิน
1)   คลองคึกคัก ปัจจุบันตื้นเขิน ใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้บ้าง
2)   คลองบางเนียง ใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม
3)   คลองปากวีป ใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม
4)   แหล่งน้ำจากขุมเหมืองเก่า มี 4 แห่ง ใช้เป็นแหล่งน้ำประปาผิวดิน   3 แห่ง
 
- ระบบชลประทาน
         มีฝายชลประทานเพื่อการเกษตรซึ่งกรมชลประทานได้ก่อสร้าง และมอบให้กลุ่มผู้ใช้น้ำ ฝายบางตาเทียนรับผิดชอบดูแลรักษา ใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมและอุปโภค
 
         แหล่งน้ำอุปโภค - บริโภค

- แหล่งน้ำธรรมชาติ
ตำบลคึกคักมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ,ลำห้วย 6 สาย   บึง ,หนองและอื่น ๆ 6 แห่ง
- แหล่งน้ำสร้างขึ้น
       ตำบลคึกคักมีแหล่งน้ำสร้างขึ้น ฝาย 2 แห่ง บ่อน้ำตื้น 590 แห่ง บ่อบาดาล 8 แห่ง ประปาหมู่บ้านผิวดิน 3 แห่ง ถังเก็บน้ำฝน 1 แห่ง
 
         สภาพสิ่งแวดล้อม

สภาวะแวดล้อมของตำบลคึกคักซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อประชาชน การท่องเที่ยวหรือ  สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้เช่น ขยะ  และน้ำเสีย ในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนเมืองสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภัย ธรรมชาติ ได้แก่ สภาพดิน ซึ่งเกิดจากน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เนื่องจากการตก ตะกอนของหิน   ดิน ทราย จากต้นน้ำ  ทำให้แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ไม่สามารถระบายน้ำได้ทันในช่วงที่ฝนตกหนัก